“แบบฟอร์มวิจัย 5 บทและตัวอย่าง สำหรับนักเรียนนักศึกษา”
สมัยเรียนผมปวดหัวอยู่ไม่น้อยกับการที่ทำวิจัย 5 บทแล้วโดนแก้แล้วแก้อีก แก้ยังไงก็ไม่พอใจอาจารย์ซะที วันนี้ผมเลยทำ “แบบฟอร์มวิจัย 5 บท สำหรับนักเรียนนักศึกษา” ขึ้นมาเพื่อให้เพื่อนๆทราบว่าแต่ละหัวข้อมันมีอะไรบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับมหาลัยของเพื่อนๆด้วยว่าหัวข้อตรงกันหรือเปล่า แต่ส่วนใหญ่แล้วจะประมาณนี้ครับ
“แบบฟอร์มวิจัย 5 บทและตัวอย่าง สำหรับนักเรียนนักศึกษา”
คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อดาวน์โหลด
“วิจัย 5 บทประกอบด้วยอะไรบ้าง”
ส่วนประกอบของงานวิจัย
งานวิจัยและโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
- ส่วนนำ
ส่วนนำ คือ ส่วนประกอบตอนต้นของวิจัย เพื่อแสดงข้อมูล เบื้องต้นเกี่ยวกับวิจัย ดังนี้
1. ปกนอก ( Cover ) ประกอบด้วยปกหน้า สันปก และปกหลัง
2. ใบรองปก ( Fly leaf ) เป็นกระดาษชนิดเดียวกับกระดาษที่ใช้พิมพ์ ต้องรองทั้งปกหน้าและปกหลังด้านละหนึ่งแผ่น
3. หน้าปกใน ( Title page ) มีข้อความเหมือนปกนอก
4. หน้าอนุมัติ ( Approval page ) จัดไว้เพื่อเป็นเอกสารรับรองว่าวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และคณะกรรมการ สอบวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ และได้รับการอนุมัติจากสถาบันแล้ว
5. บทคัดย่อภาษาไทย ( Abstract in Thai ) เป็นข้อความสรุปผลการวิจัย ภาคภาษาไทยที่ช่วยให้ผู้อ่านทราบถึงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์อย่างรวดเร็ว
6. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ( Abstract in English ) คือ ข้อความสรุปผลการ วิจัยเหมือนบทคัดย่อภาษาไทยทุกประการ เพียงแต่ถอดความเป็นภาษาอังกฤษ
7. กิตติกรรมประกาศ ( Acknowledgements ) คือ ข้อความที่ผู้เขียนแสดง ความขอบคุณต่อผู้ให้ความช่วยเหลือและให้ความร่วมมือในการศึกษาค้นคว้า เพื่อทำ วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ อันแสดงถึงจรรยาบรรณทางวิชาการที่ผู้วิจัยพึงถือปฏิบัติ
8. สารบัญ ( Table of contents ) คือ รายการแสดงส่วนประกอบทั้งหมด ของวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ เรียงตามลำดับเลขหน้า
9. สารบัญอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น สารบัญตาราง สารบัญภาพหรือสารบัญแผนภูมิ คือ ส่วนที่บอกเลขหน้าของตาราง ภาพ หรือแผนภูมิ
- ส่วนเนื้อเรื่อง
เนื้อเรื่องของวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ โดยทั่วไปที่นิยมกันอย่างแพร่หลายประกอบ ด้วยบทต่าง ๆ 5 บท คือ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
สำหรับงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ ที่เป็นการวิจัยจากเอกสาร หรือการวิจัย หรือการนิพนธ์ในลักษณะอื่นที่ไม่สามารถจัดเป็นห้าบทได้ อาจมีการแบ่งบทแตกต่างไปจากที่นำเสนอไว้นี้
1. บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Statement of the problems) กล่าวถึง ความเป็นมาของปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิจัยในปัญหานั้น เพื่อความ ก้าวหน้าของวิทยาการในแขนงนั้น รวมไปถึงการกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ประสงค์จะค้นหาคำตอบ
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives) คือ ข้อความที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ กำหนดเป็นข้อ ๆ ว่าต้องการค้นหาข้อเท็จจริงใดบ้าง
1.3 ความสำคัญของการวิจัย (Significance of the research) คือ ข้อความที่ชี้ให้เห็นว่าเมื่อทำวิจัยแล้วเสร็จ ข้อค้นพบสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะใดอย่างไร
1.4 ขอบเขตของการวิจัย (Scope of study) เป็นการกำหนดหรือจำกัดวงให้ ชัดเจนว่า การวิจัยจะกระทำกับใครหรือสิ่งใด
1.5 กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) คือ แนวคิดสำคัญ หลักการสำคัญ ที่กำหนดขึ้นจากการประมวลมาจากทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.6 สมมุติฐานการวิจัย (Research hypothesis) คือ ข้อความที่กำหนดขึ้น เพื่อคาดคะเนผลการวิจัยว่าจะเป็นลักษณะใด
1.7 ข้อตกลงเบื้องต้น (Basic assumption) คือ ความคิดพื้นฐานบาง ประการที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ต้องการทำความเข้าใจกับผู้อ่าน
1.8 นิยามศัพท์เฉพาะ (Definitions) เป็นการให้ความหมายคำสำคัญบางคำ ที่ใช้ในการวิจัย คำเหล่านั้นมีความหมายเฉพาะในการวิจัยครั้งนั้น
2. บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Related literature) ประกอบด้วย ส่วนต่าง ๆ ดังนี้
2.1 แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (Theory) เป็นส่วนที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ รวบรวม ทฤษฎี หลักการ แนวคิดข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย โดย ครอบคลุมกว้างขวางและเจาะลึกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องที่จะทำ วิจัยอย่างชัดเจน
2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Related research) คือ ส่วนที่นำเสนอผลงาน วิจัยที่มีผู้ทำมาก่อนทั้งงานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ
3. บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย (Research methodology) ประกอบด้วย ส่วน ต่าง ๆ ดังนี้
3.1 ประชากร คือ หน่วยข้อมูลทุกหน่วยที่ต้องการศึกษา การกล่าวถึง ประชากรต้องระบุขอบเขต จำนวนและคุณลักษณะของประชากรให้ชัดเจน
3.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ส่วนหนึ่งของประชากรที่จะนำมาศึกษา ต้องระบุขนาด ของกลุ่มตัวอย่าง วิธีการและขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างละเอียด
3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นการให้รายละเอียดเครื่องมือที่จะใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการอธิบายว่าจะเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการอธิบายถึงวิธีการจัดกระทำกับข้อมูลที่ได้มา เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
4. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Results) เป็นบทที่นำเสนอผล การวิเคราะห์ข้อมูลในรูปตารางหรือในรูปอื่นให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย มีการ แปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ต้องไม่แสดงความคิดเห็น หรืออภิปรายผล ประกอบการแปลความหมาย
5. บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ (Conclusions , discussion and suggestions) คือ บทที่นำเสนอผลการวิจัย โดยสรุปประเด็นสำคัญให้ เหตุผลหรืออ้างอิงประกอบ และเสนอแนะเพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้หรือการวิจัยต่อ
Credit : ส่วนประกอบของวิจัยและวิทยานิพนธ์
Credit : ตัวอย่างการวิจัย